Last updated สิงหาคม 23, 2023 ago by Thebestedu

การขอวีซ่าเรียนต่อแคนาดาต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?


ปัจจุบันแคนาดาเปิดรับชาวต่างชาติเข้าประเทศมากขึ้น เนื่องจากแคนาดากำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก มีงานว่างเป็นล้านตำแหน่งทั่วประเทศ โดยเมื่อ พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา รัฐบาลกลางแคนาดาได้ออกมาประกาศแผนระดับการอพยพ ปี 2023-2025 ฉบับใหม่ (2023-2025 Immigration Levels Plan) ตั้งเป้ารับชาวต่างชาติให้เข้าไปตั้งถิ่นฐานถาวร 4-5 แสนคนต่อปี ตั้งแต่ปี 2023 ถึงปี 2025 โดยตั้งเป้าให้มีผู้อาศัยถาวร (Permanent Residents) ที่ย้ายเข้าใหม่ 465,000 คนในปี 2023, 485,000 คนในปี 2024 และ 500,000 คนในปี 2025 และจะพยายามกระจายคนไปในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ รวมถึงเมืองเล็กในชนบทด้วย มีหลายช่องทางที่ชาวต่างชาติสามารถสมัครขอสิทธิในการอยู่อาศัยที่ประเทศแคนาดา เช่น ในรูปแบบของวีซ่านักเรียน ซึ่งชาวต่างชาติที่เรียนในสถาบันการศึกษาของรัฐในแคนาดาสามารถทำงานพาร์ทไทม์ได้ และเมื่อเรียบจบมีโอกาสที่จะสมัครเข้าทำงานในสถานประกอบการต่าง ๆ ในแคนาดา

แคนาดาให้โอกาสทางการศึกษาหรือวิชาการที่หลากหลายสำหรับชาวต่างชาติ จึงไม่แปลกใจเลยที่ชาวต่างชาติจำนวนมากต้องการไปแคนาดาเพื่อไปเรียนต่ออย่างมากมาย ชาวไทยเป็นหนึ่งในชาวต่างชาติที่แห่กันไปศึกษาต่อที่แคนาดา เช่นเดียวกับนักเรียนต่างชาติจากประเทศอื่น ซึ่งชาวไทยจะต้องมีใบอนุญาตนักเรียนหากต้องการเรียนที่แคนาดามากกว่า 6 เดือน จะต้องได้รับใบอนุญาตหรือวีซ่าก่อนออกเดินทาง สำหรับบทความนี้จะมาเล่าว่า Study Permit คืออะไร แตกต่างจากวีซ่าทั่วไปอย่างไร ตามไปดูในบทความนี้กันได้เลย


เอกสารประกอบการยื่นวีซ่าแคนาดา

ในแต่ละปีจะมีนักเรียนต่างชาติกว่า 130,000 คน ที่เดินทางเข้าไปเรียนในระดับมหาวิทยาลัยที่ประเทศแคนาดา เพราะว่าประเทศแคนาดามีระบบการศึกษาที่มีคุณภาพสูง ประเทศแคนาดาเป็นประเทศแห่งวัฒนธรรมที่สดใสและการให้โอกาส สิ่งที่ประเทศแคนาดาและสถาบันการศึกษาให้ความสำคัญที่สุดคือ การวิจัย (Research) สิ่งพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Publications) และความร่วมมือระหว่างประเทศ (International Collaborations) ผู้ที่สนใจเรียนต่อประเทศแคนาดาจะต้องมี Canadian Study Permit หรือวีซ่านักเรียนของประเทศแคนาดาด้วย


STUDY PERMIT คืออะไร?

Study Permit คือเอกสารที่ออกโดยเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของประเทศแคนาดาที่มีอำนาจในการให้สิทธิ์ชาวต่างชาติในการศึกษาในประเทศแคนาดา นักศึกษาต่างชาติจะไม่สามารถเรียนในประเทศแคนาดาได้หากไม่มี Study Permit ที่ยังไม่หมดอายุ และนักศึกษาที่มี Study Permit จะสามารถสมัครเรียนกับสถาบันที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลแคนาดาหรือที่เรียกว่า “Designed Learning Institutions” เท่านั้น ก่อนจะได้ Study Permit นักศึกษาจะต้องได้รับ Offer Letter จากสถาบันการศึกษาที่สมัครก่อนและระยะเวลาของ Study Permit จะครอบคลุมถึงแค่ระยะเวลาเรียนของการศึกษาเท่านั้น

และที่สำคัญ Study Permit ไม่ใช่วีซ่า Study Permit เป็นเพียงเอกสารที่ให้อนุญาติชาวต่างชาติเข้าเรียนในแคนาดาได้ ถ้าผู้เรียนไม่มีวีซ่าพำนักในแคนาดาก็ไม่อนุญาตให้คุณเข้าประเทศแคนาดา คุณอาจต้องใช้วีซ่านักท่องเที่ยวหรือใบอนุญาตการเดินทางทางอิเล็กทรอนิกส์ (eTA) เพื่ออยู่อาศัยในแคนาดา และเมื่อใดที่จะต้องสมัคร Study Permit เราจำเป็นต้องมีวีซ่าด้วยเช่นกัน

Student Visa – เป็นใบอนุญาติสำหรับการเข้าประเทศแคนาดา

Study Permit – เป็นในอนุญาติสำหรับการเรียนและอาศัยในแคนาดา


ขั้นตอนในการยื่นคำร้องขอวีซ่านักเรียนแคนาดา (STUDY PERMIT)

1. สมัครเรียนในมหาวิทยาลัยที่แคนาดาที่เป็น Designated Learning Institute และได้รับเอกสารตอบรับ (Acceptance Letter) โดยต้องมีหัวจดหมายอย่างเป็นทางการ ระบุค่าธรรมเนียมการศึกษาที่แท้จริง วันคาดการณ์เริ่มเรียนและวันเรียนจบและวันที่ต้องลงทะเบียน

2. ตรวจสอบว่าต้องสมัครวีซ่านักเรียนเพื่อเรียนต่อในประเทศแคนาดาหรือไม่

ผู้สมัครสามารถตรวจสอบได้ที่นี่ ว่าตนเองต้องสมัครวีซ่านักเรียนสำหรับเรียนต่อประเทศแคนาดาหรือไม่

บุคคลต่อไปนี้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องยื่นคำร้องขอวีซ่านักเรียนประเทศแคนาดา

  • บุคคลที่เป็นสมาชิกในครอบครัวหรือสมาชิกของเจ้าหน้าที่ที่เป็นตัวแทนต่างประเทศในประเทศแคนาดา ซึ่งได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ การค้าและการพัฒนาของแคนาดา (Department of Foreign Affairs, Trade and Development Canada)
  • บุคคลที่ลงทะเบียนเรียนหลักสูตรที่เรียนน้อยกว่า 6 เดือน
  • บุคคลที่เป็นสมาชิกของกองกำลังต่างชาติ (Foreign Armed Forces) จากพระราชบัญญัติกองกำลังการเยี่ยมดูงาน (Visiting Force Act.)
  • บุคคลที่เป็นประชากรของประเทศอื่น แต่ลงทะเบียนสถานะบุคคลอินเดียในประเทศแคนาดา

วีซ่านักเรียนแคนาดาหรือที่รู้จักในนาม Study Permit/Visa ไม่ได้มีสถานะเหมือนวีซ่าทั่วไปที่อนุญาตให้ผู้ถือวีซ่าเดินทางเข้าประเทศแคนาดาได้ ผู้ถือจะต้องสมัครวีซ่าเดินทางหรือ an Electronic Travel Authorization (eTA)

3. เริ่มการสมัครเพื่อขอวีซ่านักเรียนแคนาดา

เมื่อได้รับเอกสารตอบรับ Acceptance Letter จากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาแล้ว จะต้องทำการสมัครวีซ่านักเรียนหรือที่รู้จักกันในนาม Study Permit ต่อ

ขั้นตอนแรกสำหรับการสมัครวีซ่านักเรียน คือ

  • สมัครออนไลน์ผ่านหน้าเว็บไซต์ของ Citizenship and Immigration Canada (CIC)
  • หากไม่สามารถส่งเอกสารทางออนไลน์ได้ ผู้สมัครสามารถส่งเอกสารทางไปรษณีย์ไปยังสถานทูตได้
  • ยื่นเอกสารตอบรับ Acceptance Letter ที่ได้จากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลของแคนาดา หรือ Designated Learning Institution
  • ยื่นหลักฐานรับรองว่าผู้สมัครไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมมาก่อน ขอได้จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (Police Certificate for Security Checks)
  • ยื่นหลักฐานบันทึกทางการแพทย์ที่แสดงว่าผู้สมัครมีสุขภาพที่ดี หรืออาจต้องแนบเอกสารการตรวจสุขภาพด้วย (Immigration Medical Examination)

จากระเบียบการขอวีซ่าล่าสุด ถ้าผู้สมัครมีสมาชิกในครอบครัวที่กำลังทำงานหรือสมัครใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ในประเทศแคนาดา ใบสมัครของผู้สมัครสำหรับ Study Permit จะได้รับการดำเนินการในสองสัปดาห์ ผู้สมัครอาจจะต่อหรือขยาย Study Permit ได้ ถ้า

  • ผู้สมัครต้องการเรียนต่อ
  • โปรแกรมเรียนของผู้สมัครได้รับการขยาย
  • ผู้สมัครเปลี่ยนมหาวิทยาลัย

Study Permit จะหมดอายุใน 90 วันหลังจากเรียนจบแล้ว (หลังจากได้รับแจ้งเรียนจบหลักสูตร) ผู้ถือวีซ่าจะสามารถพำนักอยู่ในประเทศแคนาดาเพื่อเดินทาง สำรวจ หรือสมัคร Work Permit ซึ่งอนุญาตให้ทำงานเต็มเวลา งานพาร์ทไทม์ หรือแม้แต่ประกอบอาชีพอิสระ (Self-employed) ได้

4. เตรียมเอกสารที่ใช้ในการสมัครวีซ่านักเรียนประเทศแคนาดา

  • กรอกฟอร์มยื่นคำร้องขอวีซ่านักเรียน (Student Permit Application Form)
    • ฟอร์ม IMM 1294 – Application for Study Permit made Outside of Canada
    • ฟอร์ม IMM 5707 – Family Information Form กรอกแบบฟอร์มข้อมูลสมาชิกทุกคนในครอบครัวให้ครบถ้วน ลงลายมือชื่อและวันที่
    • ฟอร์ม IMM 5483 – Document Checklist รายการเช็คลิสต์ของเอกสารที่ใช้ในการยื่นคำร้อง
    • ฟอร์ม IMM 5409 – Statutory Declaration of Common-law Union หากผู้สมัครมีบุคคลที่อยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยานานเกินกว่าหนึ่งปีแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย และได้แจ้งสถานภาพของตนเองว่า Common-law ในแบบฟอร์มยื่นคำร้องขอวีซ่า ผู้สมัครจะต้องกรอกเอกสารนี้เพิ่มและแนบหลักฐานสนับสนุน เช่น สมุดบัญชีร่วมกัน เพื่อยืนยันความสัมพันธ์นั้น
    • ฟอร์ม IMM 5476 – Use of a Representative ผู้สมัครจะกรอกฟอร์มนี้ก็ต่อเมื่อมีการใช้บริการตัวแทนในการดำเนินการขอวีซ่าแทนตนเอง
    • ฟอร์ม IMM 5475 – Authority to Release Personal Information to a Designated Individual ผู้สมัครจะกรอกฟอร์มนี้ก็ต่อเมื่อได้มอบอำนาจให้หน่วยงาน Citizenship and Immigration Canada (CIC) กับ Canada Border Services Agency (CBSA) ได้แบ่งปันหรือโอนข้อมูลของตนเองไปให้ผู้อื่นนอกเหนือจากตนเองรับรู้
    • ฟอร์ม IMM 5646 – Custodianship Declaration – Custodian for Minors Studying in Canada ฟอร์มนี้สำหรับผู้เรียนที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปีจะต้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน
  • เอกสารตอบรับตัวจริงจากมหาวิทยาลัย (Original Acceptance Letter)
  • สำเนาหนังสือเดินทางเล่มปัจจุบันที่ยังมีอายุการใช้งานอย่างน้อย 6 เดือน
  • หลักฐานการสนับสนุนทางการเงินของผู้สมัครระหว่างเรียนในประเทศแคนาดา

โดยผู้เรียนจะต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนเองจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินที่เพียงพอตลอดช่วงระยะเวลาที่อยู่ในประเทศแคนาดา และหลักฐานทางการเงินนั้นจะต้องครอบคลุมค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าตั๋วเครื่องบินไป-กลับประเทศไทยและแคนาดาสำหรับตนเองและสมาชิกครอบครัวที่ติดตามและค่าครองชีพของตนเองและสมาชิกในครอบครัว จากไกด์ไลน์ของหน่วยงาน Citizenship and Immigration Canada ได้ประมาณการค่าครองชีพต่อปีของผู้สมัครไว้ที่ $10,000 CAD สถานทูตแคนาดาร้องขอเอกสารเพื่อสนับสนุนทางการเงินดังต่อไปนี้

  • สมุดบัญชีธนาคารหรือรายการเดินบัญชีทางการเงินของสปอนเซอร์ ย้อนหลัง 6 เดือน
  • จดหมายชี้แจงที่มาทางการเงินของสปอนเซอร์
  • เอกสารเพื่อสนับสนุนหลักฐานที่มาทางการเงินของสปอนเซอร์ เช่น จดหมายรับรองการทำงานที่ระบุระยะเวลาการจ้างงาน ตำแหน่ง และเงินเดือนรวมถึงสวัสดิการหรือผลประโยชน์อื่นๆที่ได้รับจากบริษัท จดหมายรับรองการจดทะเบียนธุรกิจ เอกสารการเสียภาษี เป็นต้น
  • จดหมายยืนยันการสนับสนุนทางการเงินจากสปอนเซอร์ ชี้แจงเจตนาในการสนับสนุนนักเรียนตลอดช่วงระยะเวลาที่ศึกษาในประเทศแคนาดา
  • หลักฐานยืนยันความสัมพันธ์กับสปอนเซอร์ เช่น สูติบัตร ทะเบียนสมรส
  • เอกสารอื่นที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของสปอนเซอร์ เช่น บัญชีตลาดหุ้น เอกสารธุรกรรมทางธุรกิจหรืออสังหาริมทรัพย์ เอกสารเหล่านี้จะต้องไม่ถูกแทนที่เอกสารที่ร้องขออื่นๆก่อนหน้า ในกรณีที่ไดรับทุนการศึกษาจะต้องยื่นเอกสารฉบับจริงจากหน่วนงานที่ให้ทุนการศึกษาพร้อมระบุจำนวนเงินที่จะสนับสนุนผู้เรียนในแต่ละปีการศึกษาที่ผู้เรียนจะได้รับด้วย

การมียอดเงินฝากก้อนใหญ่ที่เข้ามาในบัญชีจะต้องอธิบายแหล่งที่มาของเงินก้อนนั้นด้วย ไม่เช่นนั้นจะถือว่าการเงินไม่มีความน่าเชื่อถือ และผู้สมัครหรือครอบครัวของผู้สมัครจะต้องแสดงความพร้อมในการมีทุนทรัพย์ที่ครอบคลุมค่าการศึกษาและค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการศึกษาต่อต่างประเทศ หลักฐานทางการเงินที่เพียงพอชำระแค่ค่าธรรมเนียมการศึกษาเท่านั้นอาจทำให้วีซ่าของผู้สมัครถูกปฏิเสธได้

  • จดหมายชี้แจงเจตนา (A letter of intent/Statement of Purpose) หรือแผนการเรียน (Study Plan)

ผู้สมัครจะต้องทำการเขียน Study Plan ขึ้นมาด้วยตนเองและมีความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษและต้องชี้แจงถึงหัวข้อดังต่อไปนี้ ได้แก่

    • เหตุผลในการเรียนต่อที่ประเทศแคนาดาในหลักสูตรหรือโปรแกรมที่ผู้สมัครได้รับการตอบรับเข้าเรียน
    • เป้าหมายในการเรียน
    • เหตุผลว่า Diploma หรือ Degree ที่ได้รับจากประเทศแคนาดาจะสร้างโอกาสในการทำงานให้ผู้สมัครได้อย่างไร
  • หลักฐานทางการเรียนปัจจุบันและที่ผ่านมา

หากผู้สมัครสำเร็จการศึกษาแล้วต้องแนบเอกสารทรานคริปต์ล่าสุด และใบเกียรติบัตร วุฒิบัตรสำเร็จการศึกษา (Diploma หรือ Certificate) จากโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย

หากผู้สมัครยังไม่สำเร็จการศึกษาให้ใช้เอกสารทรานคริปต์ที่ล่าสุด พร้อมกับเอกสารคาดว่าจะจบและเอกสารรับรองการเป็นนักเรียน/นักศึกษาจากโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย

  • หากผู้สมัครวางแผนเรียนต่อที่เมือง Quebec จะต้องแสดงเอกสาร Certificat d’acceptation du Québec และแปลเอกสารเป็นภาษาอังกฤษกับฝรั่งเศส โดยต้องรับรองจากนักแปลและแนบสำเนาเอกสารที่ได้รับการรับรอง
  • หลักฐานรับรองว่าผู้สมัครไม่เคยมีประวัติอาชญากรรม (Police Certificate) มาก่อน ขอได้จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หากผู้สมัครหรือสมาชิกในครอบครัวที่ติดตามเคยถูกตัดสินว่ากระทำความผิดทางอาญา จะต้องยื่นเอกสารรับรองตัวจริงจากทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติและเขียนอธิบายเหตุผลส่วนตัวว่าทำไมถึงเคยถูกตัดสินว่ากระทำความผิดทางอาญานั้น
  • หลักฐานแสดงการชำระค่าธรรมเนียม Study Permit Fee (150 CAD) โดยผู้สมัครสามารถชำระค่าธรรมเนียมผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตได้

หมายเหตุ: เอกสารทั้งหมดที่ไม่ได้ออกเป็นภาษาอังกฤษหรือฝรั่งเศสจะต้องได้รับการแปลและรับรองให้ถูกต้องจาก Certified Translator และต้องรับรองสำเนาถูกต้องของเอกสารต้นฉบับทุกเอกสารด้วย และเอกสารที่รับรองทุกฉบับจะต้องระบุข้อความต่อไปนี้

  • I certify that this is a true copy pf the original document
  • ชื่อของเอกสารต้นฉบับ
  • วันที่รับรอง
  • ชื่อผู้รับรอง ตำแหน่งผู้รับรองและลายเซ็นต์ของผู้รับรอง

5. ข้อกำหนดทางด้านภาษาที่ใช้ในการศึกษาต่อประเทศแคนาดา

ผู้สมัครจะต้องมีหลักฐานแสดงทักษะภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้

  • IELTS Academic; Bachelor’s/Diploma/Certificate require IELTS 6.0/6.5 with no band less than 5.5และ Post-graduate/Master require IELTS 6.5 overall with no bands less than 6.0
  • TOEFL iBT
  • PTE Academic
  • C1 Advanced

6. การนัดทำไบโอเมตริกซ์และสัมภาษณ์

การนัดทำไบโอเมตริกซ์

ผู้สมัครจะต้องทำนัดกับ Visa Application Centre ในประเทศของตนเองเพื่อเก็บข้อมูลไบโอเมตริกซ์ ค่าธรรมเนียมการเก็บข้อมูลไบโอเมตริกซ์ต่อคนอยู่ที่ $CA85 หรือประมาณ 2,040 บาท โดยข้อมูลนี้จะถูกเก็บทุก 10 ปีและเมื่อได้รับจดหมายแจ้งให้ไปทำไบโอเมตริกซ์ จะต้องรีบดำเนินการให้เสร็จภายใน 30 วัน

การสัมภาษณ์

ผู้สมัครจะเข้าสัมภาษณ์ก็ต่อเมื่อได้รับจดหมายแจ้งจากสถานทูตซึ่งในจดหมายจะระบุวันเวลาและสถานที่สำหรับสัมภาษณ์ และในระหว่างการสัมภาษณ์ผู้สมัครอาจได้รับการร้องขอเอกสารเพิ่มเติมจากผู้สัมภาษณ์ เอกสารที่ขออาจเป็นเอกสารที่ยืนยันคุณสมบัติในการเรียนหรือทางการเงินของผู้สมัคร เช่น

  • ทรานคริปต์ ประกาศนียบัตร วุฒิบัตรการศึกษาที่ผ่านมา
  • ผลทดสอบทักษะภาษาอังกฤษ เช่น TOEFL, SAT, GRE หรือ GMAT
  • เจตนาหรือความตั้งใจที่จะเดินทางออกจากประเทศแคนาดาหลังจากเรียนจบ
  • การวางแผนการชำระค่าเรียนทั้งหมด ค่าครองชีพและค่าเดินทาง

7. ระยะเวลารอผลตัดสิน Canadian Study Permit

หลังจากสมัคร Canadian Study Permit แล้วระยะเวลาในการรอวีซ่าอาจนานสูงสุดถึง 90 วัน

หากผลการพิจารณาคือผู้สมัครได้รับการอนุมัติตอบรับคำร้อง เอกสารแสดงเอกลักษณ์และหนังสือเดินทางของผู่สมัครจะได้รับการส่งคืนจากเจ้าหน้าที่พร้อมกับจดหมายแนะนำ (Letter of Introduction) เพื่อยืนยันการอนุญาต

หากผลการพิจารณาคือผู้สมัครถูกปฏิเสธการยื่นคำร้อง หลักฐานตัวจริงทั้งหมดรวมทั้งหนังสือเดินทางจะได้รับการส่งคืนจากเจ้าหน้าที่รวมถึงเหตุผลที่ถูกปฏิเสธ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่สงสัยว่าผู้สมัครส่งเอกสารที่เป็นเท็จจะไม่คืนเอกสารนั้นให้กับผู้สมัคร


การได้รับ STUDY PERMIT

หากการสมัครวีซ่าได้รับผลตัดสินวีซ่าผ่านแล้ว ผู้ถือวีซ่าจะได้รับจดหมายแนะนำ (Letter of Introduction) ซึ่งไม่ใช่ Study Permit และจะต้องพกเอกสารนี้ติดตัวตอนเดินทางเข้าประเทศแคนาดา

การมี Letter of Introduction ไม่สามารถทำให้ผู้สมัครสามารถเดินทางเข้าไปประเทศแคนาดาทันทีได้ ผู้สมัครที่มาจากประเทศไทยจะต้องมี Visitor Visa หรือ Temporary Resident Visa (TRV) ในการเดินทางเข้าประเทศแคนาดาด้วย ทางสถานทูตจะออกวีซ่า TRV นี้ให้อัตโนมัติเมื่อตอนยื่นคำร้องขอ Study Permit โดยไม่ต้องยื่นคำร้องขอแยกอีกครั้ง

เมื่อเดินทางถึงประเทศแคนาดาแล้ว ผู้สมัครจะได้รับการสัมภาษณ์จากเจ้าหน้าที่ของ Canada Border Services Agency ซึ่งจะเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองเอกสารต่อไปนี้

  1. จดหมายแนะนำจากเจ้าหน้าที่วีซ่า (Letter of Introduction from the Visa Office)
  2. วีซ่าพำนักชั่วคราว (Temporary Resident Visa)
  3. หนังสือเดินทางหนังสือเดินทางเล่มปัจจุบันที่ยังมีอายุการใช้งานอย่างน้อย 6 เดือน
  4. จดหมายตอบรับจากสถาบันการศึกษา (Letter of Acceptance from the education institute)
  5. หลักฐานทางการเงิน

เมื่อเอกสารได้รับการรับรองแล้ว เจ้าหน้าที่จะมอบ Study Permit ให้ การที่มี Letter of Introduction ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นการการันตีการได้รับ Study Permit เจ้าหน้าที่เป็นผู้มีสิทธิ์ขาดสามารถตัดสินในขั้นสุดท้ายได้ว่าจะให้หรือปฏิเสธ Study Permit และจะเป็นผู้กำหนดระยะเวลาที่ผู้ถือวีซ่าสามารถอยู่ในประเทศแคนาดาได้

หากมีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลวันเรียนที่ระบุในจดหมายที่ยื่นคำร้องขอ Study Permit และวันที่ผู้สมัครเดินทางเข้าถึงประเทศแคนาดาหรือมีข้อมูลที่ไม่ตรงกับเอกสารตัวจริงที่เจ้าหน้าที่วีซ่ามี ผู้สมัครอาจถูกปฏิเสธการเข้าประเทศแคนาดา

ในกรณีที่ผู้สมัครได้ทำการเก็บข้อมูล Biometric ของตนเองตอนยื่นคำร้อง เจ้าหน้าที่ที่ด่านตรวจอาจตรวจเอกสารการเดินทางของผู้สมัครและเปรียบเทียบกับรูปถ่ายที่ถ่ายตอนสมัครและอาจขอให้ผู้สมัครทำการสแกนลายนิ้วมือเพื่อเทียบกับลายนิ้วมือที่เก็บจากตอนยื่นคำร้อง


เงื่อนไขของ STUDY PERMIT ที่ควรทราบ

  • ผู้ถือ Study Permit สามารถทำงานขณะที่เรียนได้ โดยไม่ต้องมี Work Permit และสามารถทำได้ทั้งใน (On-Campus) และนอก (Off-Campus) รั้วสถาบันการศึกษาของตนเอง
  • ผู้ถือ Study Permit จะต้องรักษาสถานภาพการเรียนของตนเองอย่างต่อเนื่อง
  • หากผู้ถือ Study Permit ไม่รักษาสถานภาพการเป็นนักเรียน/นักศึกษาของตนเองอาจถูกยกเลิกวีซ่าและต้องออกจากประเทศแคนาดา
  • Citizenship and Immigration Canada (CIC) จะขอรายงานจากสถาบันการศึกษาของคุณอย่างต่อเนื่องเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการเรียนของผู้ถือวีซ่า

สำหรับนักเรียนที่โรงเรียนหลักสูตร Post-Secondary Study หรือระดับอุดมศึกษาขึ้นไป หน่วยงาน Designated Learning Institution จะเป็นผู้รายงานการลงทะเบียนเรียนและสถานะการเรียนของนักเรียนให้ Immigration ทราบ และเจ้าหน้าที่อาจจะกำหนด เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกเงื่อนไขของ Study Permit ของผู้ถือวีซ่าได้ เงื่อนไขเหล่านั้นได้แก่

  • ประเภทของหลักสูตรที่ผู้เรียนลงทะเบียนเรียน
  • ชื่อสถาบันการศึกษาที่ผู้เรียนเข้าเรียน
  • สถานที่ที่ตั้งของสถาบันการศึกษา
  • เวลาและระยะเวลาการเรียน
  • เวลาและสถานที่ที่ผู้ถือวีซ่าต้องไปตรวจสุขภาพ
  • เวลาและสถานที่ที่ผู้ถือวีซ่าควรรายงานหลักฐานที่เป็นปัจจุบันของการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เหมาะสม
  • เงื่อนไขการทำงานที่แจ้งมาพร้อมกับ Study Permit
  • ข้อห้ามในการเข้าร่วมการทำงาน
  • ระยะเวลาในการพำนักในประเทศแคนาดา

ระยะเวลาของ STUDY PERMIT

Study Permit จะหมดอายุอัตโนมัติภายใน 90 วันหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาการเรียนของผู้ถือวีซ่า ถ้าผู้ถือวีซ่าย้ายไปเรียนในหลักสูตรที่มีระยะเวลาสั้นกว่าหรือเรียนจบเร็วขึ้น ระยะเวลาของ Study Permit ก็จะหมดอายุภายใน 90 วันหลังจากหลักสูตรเรียนสิ้นสุดด้วย หลักสูตรจะถือว่าสิ้นสุดแล้วเมื่อสถาบันการศึกษาได้ออกจดหมายหรือมอบประกาศนียบัตรให้กับผู้เรียน นอกจากนั้นเรายังสามารถขยายระยะเวลา Study Permit ได้อีกเช่นกัน ซึ่งเงื่อนไขจะเป็นไปตามที่ทางการกำหนด


หลักฐานทางการเงินสำหรับยื่นวีซ่านักเรียน

หลักฐานทางการเงินคือหลักฐานที่ใช้ยืนยันว่าผู้สมัครมีทุนทรัพย์ที่เพียงพอที่จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายของตนหรือสมาชิกในครอบครัวที่ติดตามตนไปเมื่ออยู่ในประเทศแคนาดา สำหรับจำนวนเงินที่ต้องแสดงกับทางสถานทูตนั้น หากผู้สมัครลงทะเบียนเรียนในหลักสูตรที่มีระยะเวลารวมกันนานกว่า 1 ปี สถานทูตจะพิจารณาเฉพาะค่าใช้จ่ายในปีแรกเท่านั้น และหากลงเรียนในหลักสูตรที่ต่ำกว่า 1 ปีก็จะพิจารณาตามจำนวนเดือนที่ผู้สมัครหรือผู้ติดตามจะอยู่ในประเทศแคนาดาเท่านั้น

โดยหลักฐานทางการเงินและจำนวนเงินนั้นจะต้องครอบคลุมค่าธรรมเนียมการศึกษาที่ค้างชำระในปีแรก ค่าครองชีพ ค่าที่พัก และค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับประเทศต้นทางและประเทศแคนาดา

ค่าครองชีพปัจจุบันกำหนดต่อปีของแต่ละผู้สมัครวีซ่าเป็นดังนี้

ค่าครองชีพนอกเมือง QUEBEC

บุคคลที่เข้าประเทศแคนาดา ค่าครองชีพต่อปี ค่าครองชีพต่อเดือน
นักเรียน CAD$10,000 CAD$833
สมาชิกในครอบครัวที่ติดตาม CAD$4,000 CAD$333
สมาชิกเพิ่มเติมในครอบครัวที่ติดตาม CAD$3,000 CAD$255

ค่าครองชีพในเมือง QUEBEC

บุคคลที่เข้าประเทศแคนาดา ค่าครองชีพต่อปี ค่าครองชีพต่อเดือน
นักเรียน CA$11,000 CA$917

สมาชิกในครอบครัวที่ติดตามคนแรก (อายุ 18 ปีหรือมากกว่า)

CA$5,100 CA$425
สมาชิกในครอบครัวที่ติดตามคนแรก (อายุน้อยกว่า 18 ปี) CA$3,800 CA$317
สมาชิกในครอบครัวผู้ติดตามคนถัดไป (อายุ 18 ปีหรือมากกว่า) CA$5,125 CA$427
สมาชิกในครอบครัวผู้ติดตามคนถัดไป (อายุน้อยกว่า 18 ปี) CA$1,903 CA$159

สำหรับค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับประเทศแคนาดาและประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ CA$3,000 ต่อคน


ตัวอย่างการคำนวณยอดเงินขั้นต่ำที่ต้องแจ้งสถานทูต

จำนวนเงินที่แสดงนั้นจะต้องครอบคลุมค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าที่พักและค่าครองชีพ และค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับประเทศไทยและประเทศแคนาดาด้วย

ระยะเวลาเรียน ค่าครองชีพและที่พัก ค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับ TH-CAD ยอดเงินขั้นต่ำที่ควรแสดงให้สถานทูต
3 เดือน

CA$2,499

(ประมาณ 66,100 บาท)

CAD$3,000

(ประมาณ 79,400 บาท)

CA$5,499

(ประมาณ 145,500 บาท)

6 เดือน

CA$4,998

(ประมาณ 132,300 บาท)

CA$7,998

(ประมาณ 211,700 บาท)

9 เดือน

CA$7,497

(ประมาณ 198,400 บาท)

CA$10,497

(ประมาณ 277,800 บาท)

12 เดือน

CA$10,000

(ประมาณ 264,600 บาท)

CA$13,000

(ประมาณ 344,000 บาท)

คำแนะนำจากเดอะเบสท์

ยอดเงินข้างต้นเป็นยอดเงินขั้นต่ำที่ทางสถานทูตได้กำหนดให้แสดง ศูนย์ฯ เดอะเบสท์ แนะนำให้แสดงหลักฐานทางการเงินให้มากกว่ายอดเงินขั้นต่ำที่ควรแสดง 1.5 – 2 เท่า เพื่อแสดงถึงเสถียรภาพทางการเงินของผู้สนับสนุน เช่น

ระยะเวลาเรียน ยอดเงินขั้นต่ำที่ควรแสดง กรณีแสดงมากกว่าที่กำหนด 1.5 เท่า กรณีแสดงมากกว่าที่กำหนด 2 เท่า
3 เดือน

CA$5,499

(ประมาณ 145,500 บาท)

CA$8,248.5

(ประมาณ 218,300 บาท)

CA$10,998

(ประมาณ 291,000 บาท)

6 เดือน

CA$7,998

(ประมาณ 211,600 บาท)

CA$11,997

(ประมาณ 317,400 บาท)

CA$15,996

(ประมาณ 423,200 บาท)

9 เดือน

CA$10,497

(ประมาณ 277,800 บาท)

CA$15,745.5

(ประมาณ 416,700 บาท)

CA$20,994

(ประมาณ 555,600 บาท)

12 เดือน

CA$13,000

(ประมาณ 344,000 บาท)

CA$19,500

(ประมาณ 145,500 บาท)

CA$26,000

(ประมาณ 688,000 บาท)

หากต้องการคำแนะนำอย่างละเอียด เกี่ยวกับกิจกรรมเสริม ที่พัก และการเดินทาง กรุณาสอบถามข้อมูลกับศูนย์ฯ เดอะเบสท์ เพิ่มเติม เรายินดีให้คำปรึกษาฟรี ไม่มีค่าบริการ สอบถามข้อมูลการบริการเพิ่มเติมติดต่อ

โทร: 090-327 3558088-269 5099
Email: contact@thebest-edu.com
Line: @thebestedu หรือคลิกเพิ่มเพื่อนด้านล่างได้เลยค่ะเพิ่มเพื่อน


ข้อควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวีซ่านักเรียนแคนาดา

SPOUSE และ COMMON-LAW PARTNER แตกต่างกันอย่างไร?

Spouse คือ คู่ครอง คู่แต่งงานหรือคู่สมรส ตามกฎหมายของประเทศแคนาดาให้คำนิยามว่าคือบุคคลสองบุคคล ไม่ว่าจะเป็นเพศตรงข้ามหรือเพศเดียวกันที่ได้ทำการสมรสตามกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่ง

Common-law Partner คือ บุคคลหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ฉันสามีภรรยากับอีกบุคคลหนึ่งไม่ว่าจะเป็นเพศตรงข้ามหรือเพศเดียวกัน และได้มีการคบหากันมานานกว่า 1 ปี ความสัมพันธ์ฉันสามีภรรยานั้นปรากฎเมื่อมีข้อตกลงร่วมกันที่สำคัญระหว่างสองบุคคลเกิดขึ้น หลักฐานที่สนับสนุนความสัมพันธ์นี้ได้แก่ หลักฐานการพักอาศัยร่วมกัน หลักฐานการสนับสนุนทางการเงินหรือทางอารมณ์ หลักฐานการมีบุตรร่วมกัน หรือหลักฐานการไปปรากฎตัวในที่สาธารณะในฐานะคู่ครองร่วมกัน

สำหรับคู่ครองแบบ Common-law ที่มีความสัมพันธ์ฉันสามีภรรยามาอย่างน้อย 1 ปีแต่ไม่สามารถอาศัยอยู่ร่วมกันได้หรือไม่สามารถปรากฎตัวในที่สาธารณะด้วยกันได้จากเหตุผลด้านข้อกำหนดทางกฎหมายในประเทศของตนหรืออาจถูกแยกจากกันด้วยเหตุผลที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น สงครามกลางเมืองหรือความขัดแย้งทางกองทัพหรือทหารสามารถสมัครวีซ่าได้

หากสมาชิกในครอบครัวต้องการสมัครวีซ่าและติดตามนักเรียนต้องยื่นคำร้องขอวีซ่าแยกหรือไม่?

สมาชิกในครอบครัวจะต้องกรอกข้อมูลคำร้องของตนเองให้ครบถ้วน แต่สามารถยื่นคำร้องพร้อมกับผู้สมัครวีซ่านักเรียนผ่านทางออนไลน์หรือ Visa Application Centre (VAC) และชำระเงินพร้อมกันได้ในหนึ่งใบเสร็จรับเงิน โดยมีเงื่อนไขว่าสมาชิกในครอบครัวนั้นจะต้องมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ในการยื่นคำร้องขอ Temporary Residence ของประเทศแคนาดา

หากบุตรของผู้สมัครต้องการเรียนต่อในประเทศแคนาดาจะต้องทำอย่างไร?

บุตรของผู้สมัครที่ต้องการเรียนต่อในประเทศแคนาดาจะต้องยื่นคำร้องขอ Study Permit ของตนเองพร้อมกับผู้สมัคร หรือหากบุตรต้องการมาเรียนที่แคนาดาหลังจากที่ผู้สมัครได้รับวีซ่าและอยู่ในประเทศแคนาดาแล้ว บุตรจะต้องยื่นคำร้องขอ Study Permit ของตนเองก่อนเข้าประเทศแคนาดา

CUSTODIANS คือใคร?

เด็กที่มีอายุ 17 ปีหรือต่ำกว่า 17 ปีและต้องการเรียนต่อในประเทศแคนาดาโดยไม่มีพ่อแม่หรือผู้ปกครองตามกฎหมายติดตาม จะต้องมีผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็กนักเรียนนั้นในประเทศแคนาดาด้วย โดยจะเรียกบุคคลที่ดูแลเด็กว่า Custodian พ่อแม่หรือผู้ปกครองตามกฎหมายในประเทศที่เด็กเป็นพลเมืองและ Custodian ของเด็กในประเทศแคนาดาจะต้องรับรองและกรอกฟอร์ม IMM 5646 – Custodianship Declaration พร้อมยื่นฟอร์มตอนสมัครวีซ่าด้วย

Custodian จะต้องพำนักอยู่ที่ประเทศแคนาดาและเป็นพลเมืองแคนาดาหรือผู้มีถิ่นพำนักถาวรในแคนาดา (Permanent Resident) บุคคลที่เป็น Custodian จะต้องมีอายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไป

การที่นักเรียนที่มีอายุ 17 ปีหรือต่ำกว่าเดินทางกับผู้ปกครองคนเดียวสามารถเดินทางได้ โดยไม่จำเป็นต้องกรอกแบบฟอร์ม Custodianship อย่างไรก็ตามควรมีการเซ็นต์ยินยอมจากผู้ปกครองอีกท่านที่ไม่ได้เดินทางไปด้วย เช่น เดินทางกับคุณแม่ คุณพ่อควรเซ็นต์ยินยอมให้บุตรเดินทางพร้อมกับคุณแม่ด้วย

หากนักเรียนอายุ 17 ปีหรือต่ำกว่าต้องเดินทางคนเดียวจะทำอย่างไร?

  • ต้องแจ้งข้อมูลในการติดต่อผู้ดูแล (Custodian) ในประเทศแคนาดา เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล
  • ต้องแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนที่นักเรียนจะเดินทางเข้าไปเรียน
  • จดหมายอนุญาตจากพ่อแม่คนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคน หรือจดหมายรับรองการดูแลจาก Custodian

บทความที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนต่อแคนาดา

คลิกเพื่อทำความรู้จักกับเมืองแวนคูเวอร์ จุดหมายปลายทางด้านการศึกษาอันดับ 1 ประเทศแคนาดา


ติดต่อเดอะเบสท์เพื่อสอบถามข้อมูลการเรียนต่อต่างประเทศเพิ่มเติม

เดอะเบสท์ เป็นศูนย์บริการให้คำปรึกษาเรียนต่อต่างประเทศครบวงจร เราเป็นตัวแทนที่ให้บริการแนะแนวศึกษาต่อต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลีย อังกฤษ สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และ ประเทศอื่นๆ อีก 25 ประเทศทั่วโลก เรายินดีให้ความช่วยเหลือตั้งแต่เริ่มสมัครเรียน จนสำเร็จการศึกษา รวมถึงดูแลนักเรียนระหว่างเรียนจนนักเรียนเรียนจบด้วยทีมผู้เชียวชาญในด้านการเรียนต่อต่างประเทศ ที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ขั้นตอนเหล่านี้เราดำเนินการให้ฟรี และเราพร้อมที่จะทำตามคุณภาพ และมาตรฐานดังสโลแกนที่ว่า “We are Quality”

บริการของเรามีอะไรบ้าง ?

  • ฟรี!! บริการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเรียนต่อต่างประเทศทุกระดับชั้นทั่วโลก ตั้งแต่ โรงเรียนประถม โรงเรียนมัธยม สถาบันวิชาชีพ และสถาบันในระดับอุดมศึกษา รวมถึงหลักสูตรภาษาต่างประเทศ และเลือกสถาบันที่ดีที่สุดให้กับผู้เรียน
  • เราให้ความช่วยเหลือตั้งแต่การประสานงานโรงเรียน เลือกโรงเรียนให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน เตรียมเอกสารสมัครเรียน และดำเนินเรื่องสมัครเรียนให้ฟรี
  • บริการเตรียมเอกสารยื่นวีซ่าครบวงจร และบริการยื่นวีซ่ากว่า 25 ประเทศทั่วโลก พร้อมวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้าอย่างตรงจุด และแนะนำวิธีการเตรียมตัวในการสัมภาษณ์วีซ่า 
  • บริการแปลเอกสาร ภาษาไทย – ภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษ – ภาษาไทย รวมถึงภาษาที่ 3 เริ่มต้นเพียงแผ่นละ 200 บาท
  • เดอะเบสท์ เป็นตัวแทนรับสมัครสอบ IELTS IDP อย่างเป็นทางการ พร้อมให้คำแนะนำ และนัดวันสอบให้โดยน้องๆ ไม่ต้องเสียเวลาสมัครเอง สมัครสอบได้ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
  • บริการซื้อประกันภัยการเดินทางและประกันสุขภาพนักเรียนต่างชาติ จากบริษัทประกันชั้นนำ MSIG, NIB, Allianz, Orbit และอื่นๆ
  • บริการจองตั๋วเครื่องบิน ทุกสายการบิน และประสานงานกับสถาบันเกี่ยวกับรถรับ – ส่ง สนามบิน
  • บริการจัดหาที่พักทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นโฮมสเตย์ อพาร์ทเม้น หรือหอพักนักศึกษา จัดหาให้ตามความต้องการส่วนบุคคล

 

 

“เรายินดีที่จะดูแลนักเรียนทุกคน ตั้งแต่เริ่มต้นจนนักเรียนสำเร็จการศึกษา และทำให้การเรียนต่อของคุณเป็นเรื่องง่าย ” สอบถามข้อมูลการบริการเพิ่มเติมติดต่อ
โทร: 090-327 3558088-269 5099
Email: contact@thebest-edu.com
Line: @thebestedu หรือคลิกเพิ่มเพื่อนด้านล่างได้เลยค่ะ

เพิ่มเพื่อน

 

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.