สารบัญบทความ

Last updated มกราคม 7, 2021 ago by Thebestedu

เส้นทางสู่การเรียนพยาบาลที่ประเทศออสเตรเลีย


อยากอ่านเป็นไฟล์ PDF  คลิกตรงนี้ Study Nurse in Australia By TheBEST

สวัสดีค่ะ วันนี้เดอะเบสท์ได้นำข้อมูลการเรียนต่อเกี่ยวกับการเรียนพยาบาลที่ประเทศออสเตรเลียมาฝากกันลองศึกษาข้อมูลรายละเอียดดูนะคะว่าการลงทุนที่จะไปเรียนต่อที่ต่างประเทศจะคุ้มค่าหรือไม่ สำหรับใครที่มีโอกาสที่จะไปเรียนก็ถือว่าคุ้มค่ามากๆค่ะไปศึกษาพร้อมกันได้เลยค่ะ

เรียนหลักสูตรวิชาชีพพยาบาล (Vocational) แล้วตามด้วย ปริญญาตรี (Undergraduate) คืออะไร

เรีมเรียน Diploma of Nursing เป็นเวลา 2 ปี และตามด้วยการเรียนในระดับปริญญาตรี Bachelor of Nursing อีก 1 ปี โดยวิธีการเทียบโอน *ในกรณีนี้เมื่อเรียนจบ Diploma of Nursing และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพยาบาล (Enrolled Nursing Registration) โดย สถาบัน Australian Health Practitioner Regulation Agency (AHPRA) เรียบร้อยแล้ว*

แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เรียนจบ Diploma of Nursing สามารถทำงานในด้าน Elder Care, หรือ Family Practice ได้

ตัวอย่างตารางรายได้เฉลี่ยของผู้ที่จบ Diploma of Nursing เป็นรายชั่วโมง ปี ค.ศ. 2016

Diploma of Nursing

ก่อนที่จะสมัครเรียนหลักสูตร Diploma of Nursing ผู้เรียนจะต้องผ่านเกณฑ์ภาษา อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ

IELTS (Academic): minimum overall band of 6.0 (with no individual band below 5.5)

TOEFL (Paper Based Test): minimum score of 550 (TWE 4.0)

TOEFL (Internet Based Test – IBT): minimum overall score of 79 (with minimum of 19 in all sections)

Pearson Test of English (Academic) (PTE (A)): minimum score of 50 (with no communication band less than 42)

Cambridge English: Advanced (CAE): minimum of 169 with no less than 162 in any component.

ในกรณีที่เกณฑ์ภาษาไม่ถึงตามที่มหาวิทยาลัย/สถาบันวิชาชีพกำหนด ก่อนที่จะเรียนตามหลักสูตร ผู้สมัครเรียนสามารถเรียนปรับพื้นฐานภาษาอังกฤษก่อนเรียนได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทางมหาวิทยาลัยจะกำหนดให้ผู้สมัครต้องเรียนปรับภาษาเป็นจำนวนกี่สัปดาห์ ปกติแล้วจะอยู่ที่ตั้งแต่ 10 สัปดาห์ขึ้นไป แล้วแต่ความสามารถทางภาษาของผู้สมัคร ค่าธรรมเนียมในการเรียนภาษาจะเริ่มที่ตั้งแต่ 200-400 เหรียญต่อสัปดาห์

เริ่มเรียนพยาบาลหลักสูตร ปริญญาตรี (Undergraduate) คืออะไร

กรณีที่เริ่มเรียนในระดับปริญญาตรี Bachelor of Nursing โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้ระยะเวลาในการเรียน ทั้งหลักสูตรขั้นต่ำ 3 ปี ในกรณีนี้สามารถใช้วุฒิ ม.6 ในการสมัครเรียนได้ โดยมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ต้องการเกรดตั้งแต่ 2.5 ขึ้นไป และบางมหาวิทยาลัยอาจจะกำหนดให้ผู้เรียนต้องไปเรียนหลักสูตรปรับพื้นฐาน (Foundation Studies Program) สำหรับการเรียน Bachelor of Nursing ก่อนที่จะเรียนในระดับปริญญาตรี

ก่อนที่จะสมัครเรียนหลักสูตร Bachelor of Nursing อย่างน้อยผู้เรียนจะต้องผ่านเกณฑ์ภาษา อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ

IELTS (Academic): minimum overall band of 6.5 (with no individual band below 6.0)

TOEFL (Paper Based Test): minimum score of 580 (TWE 4.5)

TOEFL (Internet Based Test – IBT): minimum overall score of 92 (with minimum of 20 in all sections)

Pearson Test of English (Academic) (PTE (A)): minimum score of 58 (with no communication band less than 50)

Cambridge English: Advanced (CAE): minimum of 176 with no less than 169 in any component.

ในกรณีที่เกณฑ์ภาษาไม่ถึงตามที่มหาวิทยาลัย/สถาบันวิชาชีพกำหนด ก่อนที่จะเรียนตามหลักสูตร ผู้สมัครเรียนสามารถเรียนปรับพื้นฐานภาษาอังกฤษก่อนเรียนได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทางมหาวิทยาลัยจะกำหนดให้ผู้สมัครต้องเรียนปรับภาษาเป็นจำนวนกี่สัปดาห์ ปกติแล้วจะอยู่ที่ตั้งแต่ 10 สัปดาห์ขึ้นไป แล้วแต่ความสามารถทางภาษาของผู้สมัคร ค่าธรรมเนียมในการเรียนภาษาจะอยู่ที่ตั้งแต่ 200-400 เหรียญต่อสัปดาห์

Note: สำหรับการเรียนในระดับปริญญาตรีและการทำงาน/ฝึกงาน คือระดับภาษาของผู้ที่เรียน ในประเทศออสเตรเลียมีสถาบันที่สอนภาษาอังกฤษหลากหลายสถาบันและมีคุณภาพสูง ถึงแม้ผู้เรียนจะไม่เก่งภาษาเลย ไม่จำเป็นต้องกังวลเพราะสถาบันต่างๆจะทดสอบระดับภาษาและสอนไปตาม Level ของผู้เรียนไปเรื่อยๆ จนถึงระดับสูงสุด และที่สำคัญการไปเรียนและอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อยู่กับเจ้าของภาษา ผู้เรียนก็สามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ดีกว่าการเตรียมตัวเรียนที่ประเทศไทยไปก่อน เพราะถึงแม้ว่าระดับภาษาจะถึงเกณฑ์ที่เค้ากำหนดก็ตาม โดยปกติแล้วมหาวิทยาลัย/สถาบันก็จะให้ผู้เรียนที่มาจากต่างประเทศไปเรียนปรับภาษาก่อนที่จะเริ่มเรียนจริงเช่นกัน

เรียนต่อหลักสูตรพยาบาลปริญญาโท (Postgraduate) คืออะไร

ในการเรียนระดับปริญญาโท มี 2 แบบ คือ 1. แบบนั่งเรียน (Coursework) 2. แบบทำวิจัย (Research) คุณสมบัติของผู้เรียนนี้ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยและวิธีการที่ลงเรียนรวมถึงหลักสูตรนั้นเป็นหลักสูตรเฉพาะทางหรือไม่

  1. กรณีที่เรียนจบปริญญาตรีพยาบาลจากประเทศไทยอย่างน้อยจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทยและมีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 1-2 ปี และต้องมีผลคะแนน IELTS 7.0 overall band of 7.0 รวมถึง ต้องสอบเพื่อขอใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพพยาบาลที่ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งจะยากกว่าการเรียนจบปริญญาตรีพยาบาลศาสตร์ที่ประเทศออสเตรเลียโดยตรง
  2. กรณีที่เรียนจบปริญญาตรีที่ประเทศออสเตรเลีย ต้องผ่านการสอบใบประกอบวิชาชีพพยาบาลของประเทศออสเตรเลียก่อน และต้องมีผลคะแนน IELTS ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด บางหลักสูตรอาจจะต้องให้ผู้สมัครมีประสบการณ์ทำงานขั้นต่ำ 1 ปี เป็นต้น ซึ่งกรณีนี้จะง่ายกว่า เพราะเราเรียนจบปริญญาตรีพยาบาลศาสตร์จากประเทศเขาโดยตรงนั้นเอง

ก่อนที่จะสมัครเรียนหลักสูตร Master of Nursing อย่างน้อยผู้เรียนจะต้องผ่านเกณฑ์ภาษาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ

IELTS (Academic): minimum overall band of 6.5 (with no individual band below 6.0)/ หรือ 7.0

TOEFL (Paper Based Test): minimum score of 580 (TWE 4.5)

TOEFL (Internet Based Test – IBT): minimum overall score of 92 (with minimum of 20 in all sections)

Pearson Test of English (Academic) (PTE (A)): minimum score of 58 (with no communication band less than 50)

Cambridge English: Advanced (CAE): minimum of 176 with no less than 169 in any component.

ในกรณีที่เกณฑ์ภาษาไม่ถึงตามที่มหาวิทยาลัย/สถาบันวิชาชีพกำหนด ก่อนที่จะเรียนตามหลักสูตร ผู้สมัครเรียนสามารถเรียนปรับพื้นฐานภาษาอังกฤษก่อนเรียนได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทางมหาวิทยาลัยจะกำหนดให้ผู้สมัครต้องเรียนปรับภาษาเป็นจำนวนกี่สัปดาห์ ปกติแล้วจะอยู่ที่ตั้งแต่ 10 สัปดาห์ขึ้นไป แล้วแต่ความสามารถทางภาษาของผู้สมัคร ค่าธรรมเนียมในการเรียนภาษาจะอยู่ที่ตั้งแต่ 200-400 เหรียญต่อสัปดาห์

สาเหตุที่คนส่วนใหญ่นิยมไปเรียนต่อพยาบาลและทำงานที่ประเทศออสเตรเลีย

*ข้อมูลจาก : วิจัยการศึกษาประสบการณ์และกระบวนการไปทำงานต่างประเทศของพยาบาลไทย

            “ก็มีหลายเหตุผล อันดับแรกเรื่องคุณภาพชีวิตด้วย พยาบาลไทยเราแรงงงานเยอะมาก ไม่คุ้มค่ากับแรงที่ทุ่มไป สองอยากมีประสบการณ์และชอบภาษาด้วย” 
            “เป็นเรื่องเงินเดือนนะคะและจากที่รู้จากอินเตอร์เน็ต ภาระงานพยาบาลในไทยจะหนักกว่าต่างประเทศ” 
            “ก็เรื่องเงินค่ะ ประเทศไทยให้น้อยไปหน่อย ไม่รู้กี่ปีจะเป็นหลักเป็นฐาน” 
            “มีหลายเหตุผลในการตัดสินใจไป เงินเดือนก็ส่วนหนึ่ง เงินเดือนเมืองนอกจะมากกว่าประเทศไทยแน่ๆ สวัสดิการก็ดีกว่า” 
            “ของหนูค่าตอบแทนกับสวัสดิการเป็นแรงจูงใจที่ดีที่สุด” 
            “คุณภาพชีวิตกับเงินเดือน” 
            “เหตุจูงใจก็ทำงานที่นี่อิ่มตัวแล้วค่ะ ก็คือทำงานตรงนี้ จริงๆ แล้วหนูเปลี่ยนมาหลายงานแล้ว แต่วนๆ อยู่ใน Area ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย แล้วที่นี้ก็คือว่าไปทำงาน ไปเรียนมันก็ตอบโจทย์การทำงาน แต่มันไม่ตอบโจทย์ของชีวิต อยากหาประสบการณ์ใหม่บ้าง” 
            “แรงจูงใจหลักก็คือแต่งงานมีครอบครัวค่ะ ตอนแรกคิดว่าหลังการแต่งงาน ตัวเองไม่คิดที่จะขนาดเป็นวิชาชีพ ทำงานอะไรก็ได้ แต่พอมาฟังน้องเขา contact กับเพื่อนๆ ก็น่าสนใจและที่สำคัญ คือ ตัวเองจะต้องรับผิดชอบเรื่องครอบครัวด้วย เราน่าจะมีโอกาสดีๆ พร้อมกับเงินเดือนสูงๆ plan จะไปปีนี้” 
            “เหตุจูงใจก็ทำงานที่นี่อิ่มตัวแล้วค่ะ ก็คือทำงานตรงนี้ จริงๆ แล้วหนูเปลี่ยนมาหลายงานแล้ว แต่วนๆ อยู่ใน Area ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย แล้วที่นี้ก็คือว่าไปทำงาน ไปเรียนมันก็ตอบโจทย์การทำงาน แต่มันไม่ตอบโจทย์ของชีวิต อยากหาประสบการณ์ใหม่บ้าง” 
            “แรงจูงใจหลักก็คือแต่งงานมีครอบครัวค่ะ ตอนแรกคิดว่าหลังการแต่งงาน ตัวเองไม่คิดที่จะขนาดเป็นวิชาชีพ ทำงานอะไรก็ได้ แต่พอมาฟังน้องเขา contact กับเพื่อนๆ ก็น่าสนใจ

 

ข้อกำหนดการจดทะเบียนเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ออสเตรเลียเบื้องต้น

สำหรับผู้ที่เรียนจบ ปริญญาตรีพยาบาลศาสตร์บัณฑิตในไทย

  1. สำหรับประเทศออสเตรเลียต้องผ่านเกณฑ์ภาษา International English Language Testing System (IELTS) Test result of 7.O overall (Academic) Band scores of Speaking 7.0, Writing 7.0, Listening 7.0, Reading 7.0 Overall 7.0 with no minimum band scores may be accepted
  2. ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรเตรียมพยาบาล (Conversion Program for Registered Nurse)
  3. หลังจากนั้นต้องสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพพยาบาลในประเทศออสเตรเลียและได้รับการรับรอง หลังจากนั้นจึงจะสามารถทำงานเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ประเทศออสเตรเลียได้

การวางแผนระยะเวลาการสมัครเรียน

ปกติแล้วมหาวิทยาลัยและสถาบันในออสเตรเลียจะมีการเริ่มเรียนอยู่ 2 ช่วงคือ

  1. ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ของทุกๆปี
  2. ช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ของทุกๆปี

ผู้สมัครจำเป็นต้องคำนวณระยะเวลาในการเรียนปรับภาษาอังกฤษล่วงหน้าก่อนเรียนจริง รวมถึงระยะเวลาในการยื่นขอวีซ่าให้ทันกำหนดวันเริ่มเรียน ในกรณีนี้สามารถสอบถามกับทางเดอะเบสท์ได้เลยค่ะเพื่อที่จะได้วางแผนการเรียนต่อให้เป็นไปตามกำหนดที่เราต้องการ

การเลือกสถาบันที่จะเรียน

ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สมัครว่าต้องการจะเรียนอยู่ที่เมืองไหน ต้องการเรียนสถาบันอะไรเป็นพิเศษหรือไม่ หลังจากนั้นจึงค่อยดูว่ามีหลักสูตรเกี่ยวข้องกับพยาบาลหรือไม่ และคุณสมบัติของผู้สมัครผ่านเกณฑ์ตามที่เค้ากำหนดไว้หรือไม่ กรณีนี้สามารถขอคำปรึกษากับทางเดอะเบสท์ได้เลยค่ะ

สำหรับผู้ที่เรียนจบพยาบาลศาสตร์ที่เมืองไทยแล้ว มีหลากหลายทางเลือกที่เลือกได้ สามารถปรึกษาแนวทางที่สามารถเป็นไปได้กับทางเดอะเบสท์ได้เลยค่ะ

ค่าธรรมเนียมการเรียนพยาบาลรายปีที่ประเทศออสเตรเลีย

  1. Diploma of Nursing ประมาณปีละ AU$ 15,000-25,000 ต่อปี
  2. Bachelor of Nursing ประมาณปีละ AU$ 18,000-35,000 ต่อปี
  3. Master of Nursing ประมาณปีละ AU$ 28,000-37,000 ต่อปี
  4. of Nursing ประมาณปีละ AU$ 25,000-40,000 ต่อปี

*ค่าใช้จ่ายต่างๆขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยและสถาบันที่เราเลือกเรียน เดอะเบสท์จะเลือกสถาบันที่เหมาะสมกับผู้เรียนให้มากที่สุดค่ะ 

ค่าครองชีพในประเทศออสเตรเลีย (*ข้อมูลจากสถานทูตออสเตรเลีย)

ผู้สมัคร/ผู้ปกครอง         AU$ 21,040 ต่อปี

คู่สมรส                             AU$ 7,362 ต่อปี

บุตร                                  AU$ 3,152 ต่อปี

 

ทุนการศึกษา

สำหรับทุนการศึกษานั้นขึ้นอยู่กับทางมหาวิทยาลัยและสถาบันที่เราสมัคร ทั้งทุนลดค่าธรรมเนียมการศึกษาตั้งแต่ 5-50 เปอร์เซ็นต์ หรือ 100 เปอร์เซ็นต์ ในกรณีที่มีทุน ส่วนใหญ่จะเป็นทุนเรียนดี ทุนภาวะความเป็นผู้นำ หรือทุนรัฐบาลออสเตรเลีย ทั้งนี้การที่จะได้ทุนขึ้นอยู่กับผลการเรียน และโปรไฟล์ของผู้สมัครด้วย นั้นหมายความว่าถ้าผู้สมัครไม่มีโปรไฟล์ที่แข็งแกร่งพอ ไม่ตรงตามคุณสมบัติที่เค้าต้องการ โอกาสที่จะได้ทุนการศึกษาก็จะน้อยลงไปด้วย หรืออาจจะไม่ได้เลย ก่อนจะขอทุนควรศึกษาถึงรายละเอียดต่างๆก่อน และผู้สมัครควรติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเวลาเพื่อที่จะได้ไม่พลาดทุนการศึกษาที่จะมาถึง ที่สำคัญคือการเตรียมตัวให้พร้อมอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนที่ดี การทำกิจกรรมระหว่างเรียน การทำงาน เพื่อให้ผู้สมัครมีโปรไฟล์สมบูรณ์มากที่สุดค่ะ หากใครอยากได้ทุนการศึกษาควรจะเตรียมตัวและเก็บประสบการณ์ทำงานและโปรไฟล์ให้ได้เยอะมากที่สุดนะคะ เดอะเบสท์เป็นกำลังใจให้กับทุกคนค่ะ

 

ประสบการณ์ของผู้ที่ทำงานพยาบาลที่ประเทศออสเตรเลีย

*ข้อมูลจาก : วิจัยการศึกษาประสบการณ์และกระบวนการไปทำงานต่างประเทศของพยาบาลไทย

ค่าตอบแทนที่ดีกว่า : พยาบาลกลุ่มที่เคยไปทำงานต่างประเทศส่วนใหญ่มีความคิดเห็นที่ตรงกันว่าการไปทำงานต่างประเทศจะทำได้รับค่าตอบแทนที่มากกว่า โดยได้รับประมาณ  10  เท่าของเงินเดือนในประเทศไทย และค่าล่วงเวลาได้รับค่าตอบแทนได้รับ 1.5  – 2  เท่าของชั่วโมงการทำงานปกติ เช่น

           “ค่าตอบแทนดีกว่าเมืองไทยอยู่แล้วค่ะ เดือนหนึ่งประมาณสองแสน ค่าตอบแทนที่ออสเตรเลียเลยดีกว่า แม้จะมีค่าใช้จ่ายแต่ถ้าเก็บก็น่าจะพอ ไม่เหมือนเมืองไทยที่ต้องขึ้นเวร ถึงจะได้เงินเยอะ แต่ที่โน่นเขาคิดเป็นชั่วโมง ที่เมืองนอกถ้าเวรดึกหากเราทำงานเกินต่อไป 1 ชั่วโมง ก็ได้ 40 ดอลลาร์ “

          “หนูก็รู้ว่าภาษาเราพอไปได้ อยากทำงานที่ได้สตางค์เยอะ หนูก็อยากไปทำงานที่โน่น”

          “ระบบเขาจะดีกว่าไงอย่างเรื่องเงินอะไรอย่างนี้ ทำงานวันหยุดก็ได้ 1.5 กับ 2 double time อย่างเมืองไทยไม่ได้ไง”

          “อยากไปหาประสบการณ์เพราะเงินเยอะ”

ใฝ่หาความก้าวหน้า : พยาบาลไทยที่เคยไปทำงานต่างประเทศหลายคนให้เหตุผลว่าอยากไปทำงานเพราะแสวงหาโอกาสของความก้าวหน้าในงาน เช่น

          “ตอนนั้นรู้สึกว่าระบบไม่เอื้อเท่าไหร่สำหรับการทำงาน งานไม่เสร็จก็ลงเวรไม่ได้ รู้สึกเหนื่อย เทียบเคียงกับค่าครองชีพน้อยมาก และรู้สึกว่าไปไหนไม่ได้ไกล ก็เลยลาออก ก็เลย apply ไปทำงาน” 

          “…ตัดสินใจไปดีกว่าเพราะอยู่ ICU คนเยอะ โตช้า ทำงานไปก็ก้าวหน้าช้า และก็เห็นว่าถ้าเราไม่ขยัน ดูจากพี่ๆ ที่ทำงานมาก่อน สิบยี่สิบปีก็อยู่อย่างนี้ ก็เลยคิดว่าอยู่เมืองนอกดีกว่า แม่ก็อยากให้ไปอยู่แล้ว…Director ของโรงเรียนบินมาคุยถึงเมืองไทย เขาสนใจในตัวพยาบาลเพราะประเทศนิวซีแลนด์และออสเตรเลียค่อนข้างขาดแคลนพยาบาล และเป็นอะไรที่ทำเงินด้วย”

อยากหาประสบการณ์ใหม่ : พยาบาลที่เคยไปทำงานต่างประเทศส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการไปทำงานต่างประเทศจะทำให้ได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เช่น

          “…หลังจากที่ทำงาน ICU ประมาณ 2 ปี มีเพื่อนคนหนึ่งชวนว่า ลองไปทำงานเมืองนอกไหม แต่ในใจตอนนั้นจริงๆ อยากไปเรียนหนังสือ เรียนต่อโทมากกว่าพอถามที่ Agency ที่จัดส่งไปออสเตรเลียเขาบอกว่าเรียนไปด้วย ก็ทำงานไปด้วยได้ ก็เลยตัดสินใจไปกับเพื่อนตอนอยู่ ICU 2 ปีกว่าทุกอย่างลงตัวหมดแล้ว เริ่มเบื่อๆ อยากไปหาประสบการณ์ข้างนอกช่วงนั้นอายุยังน้อยอยู่ อยากไปหาประสบการณ์ใหม่ๆ”

ไม่พึงพอใจในระบบงานเดิม : พยาบาลที่เคยไปทำงานต่างประเทศบางคนให้เหตุผลว่าอยากไปทำงานต่างประเทศเพราะไม่พึงพอใจในระบบงานเดิม เช่น

           “เบื่อระบบ ทำงานสองปีเบื่อ ซ้ำซาก ขึ้นเวรแบบเดียวกันเลย ก็น่าเบื่อหน่าย ก็เลยตัดสินใจไป ก็เลยไปต่างประเทศดีกว่า” 

เพิ่มเติมคุณภาพชีวิต : พยาบาลที่เคยไปทำงานต่างประเทศให้ข้อมูลจากประสบการณ์ที่เคยอยู่ในต่างประเทศว่าคุณภาพชีวิต สวัสดิการ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมในการท างานที่ต่างประเทศดีกว่าในประเทศไทย เช่น

          “ชีวิตอยู่ที่โน่นได้หลายรูปแบบจากที่เราลำบาก เราก็ดีขึ้นเรื่อยๆ ได้เจอผู้คน เราอยู่กันแบบญาติ ก็พบปะสังสรรค์ไปเที่ยว ประสบการณ์ที่ได้ก็คือได้เดินทางไปต่างประเทศ แถบยุโรปเยอะ ก็ได้ใช้สตางค์นะ”

          “พี่ได้กำไรชีวิต พี่ไปเที่ยวโดยไม่เสียเงิน ไปเที่ยวตั้งเยอะแยะ ได้มุมมองกว้างขึ้น”

คิดมุ่งมั่น สานฝันให้เป็นจริง : พยาบาลที่เคยไปทำงานต่างประเทศให้เหตุผลของการไปทำงานในต่างประเทศว่าเป็นความฝัน เป็นความตั้งใจที่มีอยู่เดิมตั้งแต่เรียนพยาบาล เช่น

“ที่ตัดสินใจเพราะว่ามันก็เป็นความคิดมาตั้งแต่ก่อนเริ่มเรียนว่าเราอยากจะไป ก็เหมือนเป็น ความฝันอย่างหนึ่ง ฉะนั้นก็คือว่าไปก็ไป ตอนแรกตั้งใจจะไปอเมริกา ก็เลยเปลี่ยนแผนไปออสเตรเลีย”

“อยากจะ move on ก็ไปสมัครทำงาน สมัครไปเองเลยนะ ก็สมัครไป มันขึ้นอยู่กับเรา ถ้าเราตั้งใจจริง ชีวิตก็เป็นอย่างนี้…แต่เราก็พยายาม และเราก็สามารถพิสูจน์ตัวเองได้” 

ทิ้งถิ่นฐานเพื่อครอบครัว : พยาบาลที่เคยไปทำงานต่างประเทศให้เหตุผลว่าไปทำงานต่างประเทศเพื่อครอบครัว เช่น

“เพื่อรายได้จุนเจือครอบครัว… เงินที่ได้มาพอคูณเป็นเงินไทย เราก็สามารถช่วยเหลือญาติพี่น้อง ส่งหลานเรียนหนังสือไปสองคน คนหนึ่งจบเอแบค อีกคนเรียนอยู่ศิลปากร” 

ค่าตอบแทนคุ้มค่าและเป็นธรรม : พยาบาลไทยเคยทำงานต่างประเทศเกือบทุกรายให้ข้อมูลตรงกันว่าได้รับค่าตอบแทนเท่ากับพลเมืองประเทศนั้น ค่าตอบแทนจ่ายตามประสบการณ์ทำงานที่มากขึ้น  มีสิ่งที่เหมือนกันคือ คิดค่าตอบแทนเป็นรายชั่วโมงอยู่ระหว่าง  25 – 50 เหรียญ/ชั่วโมง โดยเวรดึกจะได้รับค่าตอบแทนอัตราสูงที่สุด รองลงมาคือ เวรบ่าย และเวรเช้า  ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลและหอผู้ป่วยที่ทำงาน  ในกรณีทำงานล่วงเวลาก็จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นค่าล่วงเวลาได้เพิ่มอีก  1.5 – 2 เท่า นอกจากนี้ในวันหยุดจะได้ค่าตอบแทนเป็น  2 – 3  เท่าของรายชั่วโมง มีบางแห่งมีค่าตอบแทนที่จ่ายเป็นปีเพิ่มขึ้นให้อีกประมาณปีละ  2,500  เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ

          “เงินเดือนของ RN ทุกคนเท่ากันหมด ทุกคนได้เท่ากันหมด แล้วก็เวรบ่ายดึกเขาก็จะมี เขาเรียกจ่ายค่าเวรให้เรา คือ เวรเช้า อย่างสมมติเวรเช้าอาจจะได้ 3 บาท 50 แต่เวรบ่าย 4 บาท 70 เวรดึก 4 บาท 50 อันนี้ยกตัวอย่าง แต่ที่โน่นเขาจะจ่ายเป็นแบบทุก  2  อาทิตย์ โดยเดือนหนึ่งจะออกสองครั้ง” 

          “ขั้นแรกลองไปทำงานที่ nursing home ทำงานได้ 6 เดือน ก็จะเป็น 25 dollars/ชั่วโมง พอหลัง 6 เดือน ก็จะเป็น 30 dollars/ชั่วโมง วันหยุดจะเป็น  40 dollars/ชั่วโมง จะทำตั้งแต่  4  โมงเย็นถึง  2  ทุ่มค่ะ”  

          “ระบบการจ้างงานของออส fair ดีนะ ค่อนข้าง fair ไม่ใช่เราหัวดำแล้วเงินน้อยกว่า แต่ทุกคนที่เป็นต่างชาติทำ nursing home ค่าแรงขั้นต่ำจริงๆ ถ้าเรามีประสบการณ์ทุกคนส่วนมากจะก้าวจากการเป็นพยาบาลผู้ช่วยจาก  nursing home”

          “ค่าจ้างเยอะมาก เป็นพยาบาลทำงานวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวรเช้าก็ได้ราคานึง เวรบ่ายก็ได้ราคานึง เวรดึกก็ได้อีกราคานึง ทำ  weekend ก็ได้อีกราคานึง ต่างกันประมาณ  2-3  เหรียญต่อชั่วโมง ถ้าปีนึงทำงานสองพันชั่วโมง ก็ประมาณสี่ห้าพันเหรียญต่อเดือน เยอะนะ”  (ID8)

          “เรื่องเงินแน่นอนที่สุด เพราะอยู่บ้านเราทำงานแทบตาย เงินได้แค่นี้ แต่บ้านเขา เขาก็จะคิดให้เป็นชั่วโมง สมมติไปแล้วไม่แฮบปี้ ขอกลับบ้านก็ได้ คุณก็ได้ตามชั่วโมงที่ทำงาน“

          “in charge ที่นั่นเขาจะให้เงินเพิ่ม เพราะเขาทำงานหนัก สมมติชั่วโมง  15  บาท ก็เพิ่มให้เป็น  16  บาท ที่นั่นเวรดึกกับเวรบ่ายจ่ายต่างกัน” 

          “ที่โน่นค่าตอบแทนมันเยอะ อย่างที่บอก  10  เท่าของที่นี่ คือ พูดง่ายๆ พี่ไปอยู่ที่โน่นก่อนพี่มา พี่ได้รายได้ อยู่ที่  39  เหรียญต่อชั่วโมง มั้งถ้าจำไม่ผิด รวมเบ็ดเสร็จ พี่ทำสองที่ อีกที่นึงได้

44  เหรียญต่อชั่วโมง…overtime จะได้ 1.5  เท่า” 

          “ค่าตอบแทนที่เขาให้เราก็ได้เท่ากับ citizen ของเขาไม่มีอะไรแตกต่าง สวัสดิการก็เท่ากัน เพราะที่โน่นโรงพยาบาลทุกโรงพยาบาลเขาจะให้สิทธิเท่ากัน เพราะประเทศเขาเสรีทุกอย่าง ท่าเทียมกัน” 

          “เงินเดือน private คิดเป็นชั่วโมง ได้ประมาณ  30  เหรียญ  up ต่อชั่วโมง แต่ที่  county(รพ.ประจำเมือง)  เป็นเงินเดือนประมาณ  10,000  กว่าเหรียญ เงินเดือนของ  supervisor ก็จะเยอะ เป็น  RN ธรรมดาก็จะน้อยหน่อย อาทิตย์ละ  40  ชั่วโมง ใครทำเกินก็  overtime ก็ได้ 1.5  เท่า” 

ทำงานเน้นเรื่องมาตรฐานการพยาบาล : พยาบาลที่เคยทำงานในต่างประเทศทุกรายให้ข้อมูลว่าการทำงานจะเน้นเรื่องมาตรฐานการพยาบาลอย่างมาก เช่น

          “บางอย่างเราก็ตัดสินใจได้ อย่างเรื่องยาทุกอย่างต้อง  confirm กับหมอทุกอย่าง” 

          “พยาบาลที่โน่นมีกฎระเบียบในการทำงาน และตรงไปตรงมา ถึงเวลากินข้าวต้องกิน ถึงเวลาทำงานอาจคุยอะไรกันบ้าง ที่โน่นเวลาทำงานคือเป๊ะ ไม่ต้องมีใครมาบอกว่ามาตรฐานอย่างนั้นอย่างนี้ เช่น เรื่องการล้างมือ ที่โน่นไม่ว่าจะมีคนเห็นหรือไม่เห็น ทุกคนจะมีแอลกอฮอล์แฮนรัพเล็กๆ พกและไม่ว่ายาจะแพงแค่ไหน ทำตกแล้วทิ้ง” 

          “รับโทรศัพท์จะต้อง  repeat order อย่างน้อย  3 ครั้งว่า  are you sure ? ว่ายูสั่งอย่างนี้… จะต้อง  repeat เพราะบางทีเราโทรตี  1  ตี  2  เช้าเขาจะมาดูอีกที” 

          “เหมือนกับว่าเราทำงานโดยไม่รู้อะไรว่าเราทำอะไร เขาจะไม่เชื่อใจเรา และเขาจะมาถามตลอดว่ายาตัวนี้เป็นอย่างไร มีตัวยาอะไรบ้าง เราต้องตอบให้ได้ ถ้าถามแล้วเราตอบไม่ได้ เขาจะไปฟ้องหัวหน้าเราทันที เป็นธรรมดามาก ถึงบอกว่าเวลาที่เราทำงานต้องใส่ใจทุกเรื่อง ต้องมีหนังสือตลอด ถ้าเราทำงานเกี่ยวกับ  labour เราต้องรู้ยาเกี่ยวกับ  labour ทุกอย่างที่หมอ  order”

 

อัตราเงินเดือนเฉลี่ยพื้นฐานของพยาบาลสาขาต่างๆในประเทศออสเตรเลีย ปี 2016

แบบรายเดือน

HMonthy

แบบรายชั่วโมง

Houry

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.